วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Quiz#1 กรณีศึกษา Sarah Morris

*** ส่งงาน Quiz ครั้งที่ 1 กรณีศึกษา กลุ่มละ 3-5 คน เขียนชื่อและรหัสนักศึกษามาให้ครบถ้วน เรียงตามรหัสนักศึกษาจากน้อยมามาก

21 ความคิดเห็น:

อาจารย์ อ. กล่าวว่า...

วิธีการส่งเนื้อหาเพื่อตอบ QUIZ ก็เพียงกด Link "แสดงความคิดเห็น"
แล้วก็บรรยายแนวความคิดในการออกแบบระบบงาน IT เพื่อสนับสนุนงานคุณ Sarah Moris

สร้อยสุดา กล่าวว่า...

ส่ง QUIZ ครั้งที่ 1 วิชา บธ.3108 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์

นางสาวสร้อยสุดา ศรีจันทร์ 501-00-2145
นางสาวศรินญา ลิ้มเจริญ 501-00-2411

ให้ออกแบบระบบสารสนเทศให้กับซาร่า และในระบบมีอะไรบ้าง อธิบาย
ระบบสารสนเทศของซาร่าต้องเป็นระบบที่ใช้ในการจัดการข้อมูลต่างๆของซาร่าให้เป็นระบบมากขึ้น และมีความสะดวกรวดเร็ว ง่ายต่อการใช้ข้อมูล ซึ่งงานของซาร่ามีทั้งการส่งจดหมาย ซึ่งจะต้องมีชื่อและที่อยู่ งานการจัดพิมพ์เอกสารสำหรับใช้ในการสัมมนาเป็นต้น โดยในระบบประกอบไปด้วย
- ซอฟต์แวร์ช่วยให้การสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์ รวดเร็ว ง่าย และมีประสิทธิภาพ หรือเรียกว่า “ระบบปฏิบัติการ” ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์รับ - ส่งข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้ Microsoft Windows ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่มีการติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่า
ซึ่งซาร่าสามารถนำมาใช้จัดการกับสิ่งต่อไปนี้คือ
การจัดการเกี่ยวกับไฟล์และซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่จะใช้ในการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ
การจัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์รับข้อมูลและแสดงผล
การจัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูลของธุรกิจ
การจัดการเวลาในหน่วยประมวลผลกลาง
-ซอฟต์แวร์จัดระบบฐานข้อมูล (Data Base Management Software) เป็นซอฟต์แวร์ในด้านการประมวลผล และจัดการกับข้อมูล กลุ่มข้อมูลจำนวนมาก เช่น รายชื่อลูกค้า ที่อยู่ หรือโปรแกรมในการสัมมนา เป็นต้น เช่น Microsoft Access เป็นต้น
ความสามารถของซอฟต์แวร์จัดระบบฐานข้อมูลที่ซาร่าจะนำมาใช้ประโยชน์คือ
- สามารถสร้าง ดัดแปลง แก้ไขข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว
- สามารถเรียงลำดับข้อมูลได้ตามเงื่อนไขที่ต้องการ
- สามารถค้นหาข้อมูลได้ตามเงื่อนไขที่ต้องการ
- สามารถพิมพ์ไฟล์ หรือส่วนของไฟล์ตามที่ต้องการ
- สามารถสร้าง ดัดแปลงโครงสร้างของไฟล์ข้อมูลได้
- สามารถนำข้อมูลบางส่วนที่ต้องการ มาสร้างเป็นไฟล์ใหม่ได้ทันที - มีความจุสูง เก็บข้อมูลได้จำนวนมาก

ซึ่งเหมาะที่ซาร่าจะนำมาใช้ในการจัดการฐานข้อมูลโดยใช้เก็บข้อมูลที่ใช้ในการทำธุรกิจ จัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ ง่ายต่อการใช้งานและค้นหาเช่น เก็บรายชื่อลูกค้า ข้อมูลที่ใช้ในการบรรยาย หรือกลุ่มคำถามต่างๆเป็นต้น
ซอฟต์แวร์จัดพิมพ์รายงาน หรือซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing Software)ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการสร้างเอกสารหรือรายงาน การแก้ไข ดัดแปลง และการพิมพ์เอกสารหรือรายงาน เช่น Microsoft Word, Microsoft Excel เป็นต้น
ความสามารถของโปรแกรมการจัดทำเอกสาร
- สามารถสร้าง แก้ไข ดัดแปลงเอกสารหรือรายงานได้สะดวก รวดเร็ว
- สามารถตัดต่อข้อความต่าง ๆ ได้สะดวกรวดเร็ว รวมทั้งการคัดลอกหรือลบกลุ่มข้อความ
- สามารถค้นหาคำและเปลี่ยนคำที่ค้นหาได้
- สามารถจัดการพิมพ์เอกสารซ้ำได้หลาย ๆ ชุดในการสั่งแต่ละครั้ง
- สามารถเก็บเอกสารหรือรายงานได้ เพื่อนำมาเรียกใช้ภายหลังได้
- มีความหลากหลายในรูปแบบตัวอักษร รวมทั้งสามารถสร้างตัวอักษรที่ต้องการได้ เช่น ตัวหนา ตัว- ขีดเส้นใต้ หรือสร้างอักษรทางคณิตศาสตร์ เช่น สัญลักษณ์ดิฟเฟอร์เรนต์ อินเตอร์เกรท เป็นต้น
ซึ่งซาร่าสามารถนำมาใช้ในการจัดทำเอกสารที่ใช้ในการสัมมนา หรือใช้ในการพิมพ์จดหมายที่จะส่งไปให้ลูกค้า หรือจะใช้ในงานด้านอื่นๆก็ได้
ในการที่จะทำระบบสารสนเทศมีขั้นตอนดังนี้
1.จัดเรียงหรือจัดหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นระเบียบ เช่น กลุ่มคำถามกลุ่มนึง ข้อมูลที่ใช้ในการบรรยายกลุ่มหนึ่งข้อมูลรายชื่อลูกค้ากลุ่มหนึ่ง เป็นต้น
2.เลือกใช้โปรแกรมที่มีอยู่ให้เหมาะกับงาน เช่น Microsoft Word ใช้ในการพิมพ์งาน, Microsoft Access ใช้ในการจัดการข้อมูลต่างๆ หรืออื่นๆ
3.การจัดเก็บควรเรียงตามวัน เดือน ปี เพื่อง่ายต่อการค้นหาและนำเสนอ
4.มีการบันทึกข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
5.พัฒนาระบบที่มีอยู่ให้สะดวก รวดเร็ว และทันสมัยเสมอ

clubzuza กล่าวว่า...

ออกแบบระบบฐานข้อมูลให้คุณ Sarah Morris

การออกแบบระบบโดยการให้ลูกค้าเป็นศูนย์รวมทางธุรกิจ คือการยึดลูกค้าเป็นหลักในการทำธุรกิจ โดยคำนึงว่าในอนาคตลูกค้าต้องการอะไร การให้คำตอบกับลูกค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วทันใจเป็นการจัดการด้านบริการที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า หรือการให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่มีคุณภาพมากกว่าราคา นอกจากนี้ยังมีการใช้อินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วยจัดการความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า หรือ CRM เพื่อสร้างฐานข้อมูลของลูกค้า เช่น การเก็บประวัติของลูกค้า หรือการให้บริการตอบคำถามโดยตรงจากพนักงานคือมีบริการด้านคอลเซ็นเตอร์ และยังช่วยในเรื่องของการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหารอีกด้วย ในระบบ CRM นั้น มีการใช้ทั้งอินทราเน็ต เอ็กทราเน็ต และอินเตอร์เน็ต และมีการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อเป็นช่องทางการตลาด หรือการจัดทำเว็บบอร์ดเพื่อใช้ตอบคำถามแก่ผู้ที่ใช้บริการและมาฝากคำถามไว้ โดยจะนำคำถามที่มีคนถามมากที่สุดล็อคไว้บนหัวข้อแรก ๆ ของเว็บบอร์ดเพื่อที่เมื่อมีคนจะเข้ามาตั้งคำถามก็ไม่ต้องตั้งใหม่และยังสามารถเข้ามาดูคำตอบได้เลย และคอมพิวเตอร์สามารถทำการสื่อสารกับลูกค้าได้ สามารถเชื่อมโยงกับหุ้นส่วนทางธุรกิจ และผู้จัดหาจัดส่งได้ นอกจากนี้ในเรื่องของการโฆษณาเว็บอาจจะทำเป็นแบนเนอร์ไปแปะฝากไว้ที่เว็บไซต์ อื่น ๆ ซึ่งมีลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้ากลุ่มทั่วไปเข้ามาใช้บริการกันมาก เช่น เว็บสนุก ดอตคอม เว็บกะปุก เป็นต้น


รายชื่อสมาชิกในกลุ่มทำแบบทดสอบย่อย
1.นางสาวศิรภัสสร วงษ์เนตร รหัส49000855 (ม.ศรีปทุม)
2.นางสาวธัญญลักขณ์ ทัพชัย รหัส49003254 (ม.ศรีปทุม)
3.นางสาวเกศินี กันฉาย รหัส49003261 (ม.ศรีปทุม)
4.นางสาวอารยา ยาดี รหัส49003278 (ม.ศรีปทุม)

clubzuza กล่าวว่า...

การออกแบบระบบการทำงานของ Sarah Morriss

จำต้องมีการนำเอาระบบต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานเพื่อให้ง่ายและสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ซึ่งการออกแบบงานจะมีวิธีการนำเอาเทคโนโลยีหรือโปรแกรมต่าง ๆ เข้ามาช่วย เช่น นำอุปกรณ์ทางด้าน Hardware และ Software หรืออุปกรณ์สำนักงานเข้ามาช่วย

Sarah จะต้องมีเว็ปไซต์เพื่อติดต่อสื่อสารกับลูกค้าหรือโฆษณาข่าวสารให้กับลูกค้าได้ทราบถึงรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เพื่อจะได้ส่ง E-Mail ให้กับลูกค้าได้ทราบและตอบข้อสงสัยต่าง ๆ ให้กับลูกค้าได้รวดเร็ว และหาลูกค้าเพิ่มโดยการส่ง E-Mail ให้กับบุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้ทราบ

ส่วนหนึ่ง Sarah โดยแบ่งงานให้กับลูกจ้างทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น รับโทรศัพท์,คอยเช็คข้อมูลลูกค้า,ข้อมูลด้านธุรกิจจัดพิมพ์เอกสารสำหรับการสัมมนา,ติดต่อจองโรงแรมสำหรับสัมมนาและเตรียมเรื่องการเดินทางนอกจากนี้ยังช่วยเตรียมและส่งเอกสารทางไปรษณีย์ด้วย แต่การแบ่งงานของ Sarah ที่ให้ลูกจ้างทำอาจจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เข้ามาช่วยเพื่อให้ง่ายขึ้น เช่น การนำเอาโปรแกรม Microsoft Word เข้ามาจัดพิมพ์เอกสารต่าง ๆ ในการสัมมนาแต่ละครั้ง หรือพิมพ์จดหมายส่งให้แก่ลูกค้าทราบ, Microsoft PowerPoint มานำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ที่จะสัมมนาในแต่ละครั้ง หรือโปรแกรม SQL มาใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น รายชื่อลูกค้า ที่อยู่ จำนวนครั้งที่ลูกค้าเข้าสัมมนาแต่ละครั้ง เพื่อจะได้เป็นการจัดให้โปรโมชั่นแก่ลูกค้าในการเข้าฟังสัมมนาฟรี เป็นต้น


รายชื่อสมาชิก
1.น.ส.วรนุช เสือเยะ 481-20-0211
2.น.ส.รวิกานต์ กุลสิงห์ 491-00-0975

Unknown กล่าวว่า...

ส่ง QUIZ ครั้งที่ 1 วิชา บธ.3108 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์
สมาชิกในกลุ่ม
1. นางขวัญชนก แก้วกลิ่น 501-30-0001
2.นางสาวอิงฤทัย จันทร์แย้มไผ่ 501-30-0002
3.นางสาวพรทิพย์ ทัดเที่ยง 501-30-0007
4.นายสุวิทย์ เสลานนท์ 501-30-0009

ออกแบบระบบฐานข้อมูลให้คุณ Sarah Morris
ระบบสารสนเทศของซาร่าที่ใช้อยู่ยังไม่สมัยต้องการพัฒนาอีกมาก ในการดำเนินการธุรกิจสิ่งหนึ่งที่เป็นปัจจัยชี้วัดความสำเร็จ ได้คือ การมีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์และ มีประสิทธิภาพ เหนือ คู่แข่ง ขันระบบสารสนเทศที่ดีจะช่วยจัดการและบริหาร ข้อมูลที่มีอยู่ภายในองค์การและที่จะมาจากภายนอกองค์การได้อย่าง มี ประสิทธิภาพ ดังนั้นจะต้องมีการพัฒนาระบบ สารสนเทศ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญในการดำเนินการธุรกิจอย่างมากสมัยก่อนนิยมส่งจดหมายปัจจุบันโทรศัพท์อีเมล์อย่างซ่าร่าอาจมีcallcenterตอบคำถามลูกค้าเข้ามาช่วย

3.1 การพัฒนาระบบสารสนเทศของซาร่า
ระบบสารสนเทศสามารถแบ่งออกได้เป็นระบบย่อยได้มากมาย เช่น ระบบประมวลผลข้อมูลระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการ ระบบ สนับสนุน การตัดสินใจ หรือระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น ซึ่งระบบสารสนเทศแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันในการดำเนินงาน และการใช้ฐาน ข้อมูล จึงต้องได้รับการพัฒนาขึ้นตาม คุณสมบัติเฉพาะ อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบ สารสนเทศจะมีลักษณะ ร่วม กันของการดำเนินงาน ที่ เป็นระบบ และต้องอาศัยการพัฒนาระบบสารสนเทศจะมีลักษณะร่วมกับของการดำเนินงานที่เป็น ระบบและ ต้องอาศัย ความเข้าใจใน ขั้นตอน การดำเนินงาน การศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบ (System Development) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่แต่เฉพาะบุคคลที่ปฏิบัติ งานเกี่ยวกับ สารสนเทศ แต่มีความจำเป็น สำหรับสมาชิกอื่นขององค์การที่ต้องเกี่ยวข้องในฐานะผู้ใช้ระบบ
การพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นกระบวนการที่ใช้เทคนิคการศึกษา การวิเคราะห์ และการออกแบบระบบสารสนเทศ ขององค์การ ให้สามารถดำเนินงานอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยบางครั้งจะเรียกวิธีการดำเนินงานในลักษณะนี้ว่า "การวิเคราะห์และออกแบบระบบ" (System Analysis and Design) เนื่องจาก ผู้พัฒนาระบบต้องศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการ การ ไหวเวียนของข้อมูล ตลอด จนความ สัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้า ทรัพยากรดำเนินงาน และผลลัพธ์ เพื่อทำการออกแบบระบบสารสนเทศใหม่ แต่ใน ความ เป็น จริงการพัฒนา ระบบ มิได้สิ้นสุดที่การออกแบบ ผู้พัฒนาระบบจะต้องดูแลการจัดหา การติดตั้ง การ ดำเนินงาน และการประเมิน ระบบว่าสามารถดำเนินงาน ได้ตาม ต้องการหรือไม่ ตลอดจนกำหนดแนวทางในการพัฒนาระบบในอนาคต

3.2 ความสำคัญของผู้ใช้ต่อการพัฒนาระบบ
ผู้ใช้ระบบ (System User) หมายถึง ผู้จดการที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์การและ/หรือเจ้าหน้าที่ที่ ปฏิบัติ กับระบบ สารสนเทศ ผู้ใช้จะเป็น บุคคลที่ใช้งานและ ปฏิสัมพันธ์กับระบบสารสนเทศโดยตรง เช่น จัดเก็บ ปรับปรุง ประมวลผลข้อมูล และนำข้อมูล มาใช้งาน เป็นต้น ดังนั้นผู้ใช้ระบบ สมควรมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ตั้งแต่เริ่มต้นที่จะพัฒนา ระบบใหม่ให้กับองค์การ โดยบุคคลหรือกลุ่มสมควร ที่จะมี การทำงานที่ใกล้ชิดกับทีมงานผู้พัฒนาระบบ หรือเข้าไปเป็นส่วน หนึ่งของทีม งานผู้พัฒนาระบบ เพื่อให้การ พัฒนาระบบใหม่ สำเร็จลงด้วยดีทั้งในด้านงบประมาณ กรอบของระยะเวลาและตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ปกติการพัฒนาระบบสารสนเทศอาจอาศัยแนวทางการค้นพบปัญหาที่มีอยู่และ/หรือโอกาสในการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อให้ การดำเนิน งานมีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อเริ่มต้นที่จะพัฒนาระบบ ผู้ใช้ในฐานะบุคคลที่มีประสบการณ์ตรง (Firstname Experience) กับระบบ งานจะต้อง ให้ ข้อมูลสำคัญแก่ทีมงานพัฒนาระบบโดยแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ต่อไปนี้
1. สารสนเทศที่องค์การหรือหน่วยงานต้องการ แต่ยังไม่มีระบบใดในปัจจุบันที่จะช่วยให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือสารสนเทศนั้น
2. ผู้ใช้ระบบไม่พอใจต่อสิ่งใด ขั้นตอนหรือส่วนประกอบใดในระบบปัจจุบัน เป็นต้นว่าระบบเดิม มีการทำงานที่ยุ่งยาก หรือมี หลาย ขั้น ตอนในการเข้า ถึงและจัดการ ข้อมูล ทำให้ผู้ใช้ต้องเสียเวลานาน และสารสนเทศที่ได้มาอาจมีความผิดพลาดไม่ทันเวลา หรือไม่ตรงตามต้อง การ เป็นต้น
3. ผู้ใช้ระบบมีความต้องการให้ระบบใหม่มีรูปแบบและคุณลักษณะอย่างไร มีส่วนประกอบอะไรบ้าง และสามารถทำงาน ได้ อย่างไร



รูปที่ 3.1 ผู้ใช้กับข้อมูลในการพัฒนาระบบ

3.3 ข้อบกพร่องของระบบสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การ
ปัจจุบันหลายองค์การได้พัฒนาและใช้งานระบบสารสนเทศในระดับที่แตกต่างกัน เช่น บางหน่วยงานอยู่ในช่วงเริ่มต้น ของ การนำเทค โนโลยี สารสนเทศมาประยุกต์ ขณะที่บางองค์การได้บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับทุกหน่วยงาน เป็นต้น แต่ไม่ ว่าระบบ สารสนเทศ จะมีความก้าวหน้าเพียงใดก็ไม่สามารถ รักษาความสมบูรณ์ ได้ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดยั้ง ของ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อม ทางธุรกิจ หรือลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ระบบ งาน ปัจจุบันขาดความสามารถ ในการตอบ สนองต่อปัญหา ที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะ ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นอาจส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ใช้ ระบบไม่พึงพอใจตอการใช้ระบบปัจจุบัน จึงเป็น สาเหตุที่ก่อให้เเกิดความคิดใน การที่จะพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งสามารถ สรุปได้ดังนี้

1. ความต้องการ ระบบปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ระบบไม่มีความพึงพอ ใจและไม่อยาก ที่จะ ใช้งาน เช่นผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการหรือ ระบบไม่สามารถทำงานตามที่ต้องการ เป็นต้น

2. กลยุทธ์ ระบบปัจจุบันไม่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานระดับกลยุทธ์ของธุรกิจระบบสารสนเทศที่พัฒนา ขึ้นอาจเหมาะสม กับการ ดำเนินงานในขณะนั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไประบบดังกล่าวอาจ ไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง และไม่สามารถที่จะถูกพัฒนา ให้ มีขีดความสามารถในการสนับสนุนการดำเนินงานขั้นสูงของธุรกิจ เนื่องจากมิได้เตรียมการณ์สำหรับสถานการณ์ใน อนาคต

3. เทคโนโลยี ระบบปัจจุบันมีองค์ประกอบของเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาจล้าสมัย มีต้นทุน สูงต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามาก และมีประสิทธิ ภาพที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน

4. ความซับซ้อน ระบบปัจจุบันมีขั้นตอนในการใช้งานยุ่งยากและซับซ้อน ก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการเรียนรู้ การใช้งาน การควบคุม กลไก ในการ ดำเนินงาน การตรวจสอบข้อผิดพลาด และ รวมไปถึงการบำรุงรักษาข้อมูล ชุดคำสั่ง และอุปกรณ์

5. ความผิดพลาด ระบบปัจจุบันดำเนินงานผิดพลาดบ่อยครั้ง ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมแก่องค์การ โดย เฉพาะระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของ ผู้บริหารที่ต้องการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการ ของ ปัญหา มีความถูกต้อง และชัดเจน

6. มาตรฐาน ระบบเอกสารในระบบปัจจุบันมีมาตรฐานต่ำ ซึ่งจะก่อให้เกิดความยากลำบากในการปรับปรุงระบบงานและผลลัพธ์ บาง ครั้งความต้องการหรือ ข้อบกพร่องเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ไม่สามารถแก้ไขได้ทันที เพราะขาดเอกสารอ้างอิงสำหรับระบบ ซึ่งจะเป็น อันตรายมาก ถ้าข้อพบพร่องนั้นเป็นปัญหา ใหญ่และ ซับซ้อนแต่ไม่สามารถแก้ไขได้ทันตามข้อจำกัดของระยะเวลา และสถานการณ์

3.4 ปัจจัยในการพัฒนาระบบ
เราจะเห็นว่าการวิเคราะห์ การออกแบบ และการพัฒนาระบบเป็นงานที่มีความซ้อนเกี่ยวข้องกับผู้ใช้ และบุคคล ที่มี ความหลากหลาย และประการสำคัญเกี่ยวข้องกับกระบวนการปฏิบัติงานใน องค์การ ดังนั้นการที่มีทีมงานพัฒนาระบบ จะ สามารถพัฒนาระบบสารสนเทศให้สำเร็จตามตารางเวลา อยู่ในกรอบของงบประมาณ และผู้ใช้มีความพึงพอใจจึงต้องพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ผู้ใช้ระบบ สมควรต้องมีส่วนร่วมตลอดกระบวนการพัฒนาระบบ โดยเฉพาะผู้นำหรือบุคคลที่มีบทบาทสำคัญและมีอำนาจในกลุ่มผู้ใช้ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาระบบตั้งแต่เริ่มต้นจนเส็จ สมบูรณ์ เนื่องจากการพัฒนาระบบงานจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานปัจจุบัน ซึ่งต้องการข้อมูล ความเห็น และการตัดสินใจที่เด็ดขาดจากผู้นำกลุ่ม
2. การวางแผน ระบบงานที่มีประสิทธิภาพจะเกิดจากการวางแผนการพัฒนาระบบอย่างรอบคอบและเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เพราะการวางแผนที่ดีเป็นหลักประกันในระดับหนึ่งว่า ระบบที่พัฒนาขึ้น จะสำเร็จลุล่วงด้วยดี เพราะมีการกำหนดแนวาทาง ในการ พัฒนา อย่างถูกหลักการหรืออย่างมืออาชีพ
3. การทดสอบ ทีมงานพัฒนาระบบต้องออกแบบกระบวนการดำเนินงานของระบบที่กำลังศึกษา แล้วจึงทำการกำหนด คุณลักษณะของชุดคำสั่งให้สามารถปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับระบบงาน จากนั้นจึงทำการออกแบบและทดสอบ ชุดคำสั่ง ให้สอดคล้องกับแนวทางการออกแบบระบบ
4. การจัดเก็บเอกสาร การพัฒนาระบบต้องมีระบบจัดเก็บเอกสารที่สมบูรณ์ ชัดเจนถูกต้อง ง่ายต่อการค้นหาและอ้างอิง โดย เฉพาะเมื่อเกิดปัญหาหรือความไม่เข้าใจขึ้น ปกติข้อมูลในการพัฒนา ระบบจะมีปริมาณมาก และมีความหลากหลาย นักวิเคราะห์ และพัฒนาระบบที่มีประสบการณ์จะจัดทำแฟ้มและกำหนดคุณลักษณะข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นงาน
5. การเตรียมความพร้อม มีการวางแผนสร้างความเข้าใจและฝึกอบรมผู้ใช้ระบบ เพื่เป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างความ มั่นใจว่าผู้ใช้ระบบจะมีความพอใจ และสามารถปฏิบัติงานกับระบบ งานใหม่ที่พัฒนาขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
6. การตรวจสอบและประเมินผล โดยดำเนินการเป็นระยะ ๆ ภายหลังจากติดตั้งระบบเพื่อที่จะพิจารณา ว่าระบบสารสนเทศ ใหม่ มีความสมบูรณ์ ข้อจำกัด หรือข้อบกพร่องหรือไม่ ต้องปรับปรุง อย่างไรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ จริงและสอดคล้อง กับความต้องการของผู้ใช้
7. การบำรุงรักษา ระบบสารสนเทศที่ดีมีเพียงแต่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องออกแบบให้กระบวน การ บำรุงรักษาสะดวก ง่าย และประหยัด เพราะกระบวนการบำรุงรักษา ที่ง่ายจะทำให้ระบบได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ ระบบ ไม่บกพร่อง และสามารถถูกใช้งานอย่างเต็มที่ตลอดอายุการใช้งาน
8. อนาคต เตรียมความพร้อมสำหรับพัฒนาการอนาคต ทีมงานพัฒนาระบบสมควรออกแบบระบบให้มีความยืดหยุ่น และ สามารถที่จะพัฒนาในอนาคต เนื่องจากระบบงานในปัจจุบันย่อมต้อง ล้าสมัย และไม่สามารถสนองความต้องการ ของผู้ใช้ อย่างสมบูรณ์ แต่การพัฒนาระบบแต่ละครั้งจะมีค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมที่สูง การออกแบบและเปลี่ยนระบบงานบ่อย ๆ คงเป็นไปได้ยาก และไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้นทีมงานพัฒาระบบจึงต้อบศึกษาทิศทางและแนวโน้มของเทคโนโลยีและ ระบบงานในอนาคตประกอบการออกแบบระบบ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาระบบอย่าง ต่อเนื่องการพัฒนา ระบบ สารสนเทศ เป็นงานที่ท้าทายและต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่มี การเปลี่ยนแปลง ของสภาพ แวดล้อมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์การต้อง ปรับตัวอย่างเหมาะสมภายใต้ข้อจำกัดของระยะเวลาและทรัพยากร เทคโนโลยี สารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนงานและการแข่งขันของธุรกิจ

หน้า 3/4

ลักษณะระยะของการเจริญเติบโตจะสรุปปัญหาของการจัดการและลักษณะสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 6 ระยะคือ
ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น (Initiation ) เมื่อระบบเป็นระบบใหม่มีการค้นพบมากมาย การทดสอบและความผิดพลาดเกิดขึ้นกับกระบวนการถ้าระบบยังคงอยู่รอด ระบบจะเริ่มประสบ ความสำเร็จในการยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น ช่วงนี้เทคโนโลยีใหม่จะถูกนำเข้าสู่องค์การและผู้ใช้บางคนเริ่มนำมาประยุกต์ใช้เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นเทคโนโลยีได้อย่างง่ายดายและเรียนรู้วิธีการที่ เทคโนโลยีสามารถถูกนำมาใช้
ระยะที่ 2 ระยะติดต่อ (Contagion) ผู้ใช้และหน่วยจำนวนมากจะคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและประยุกต์ใช้มันได้แล้วจึงเผยแพร่กระจายกว้างไป และต้องการผู้ใช้เพิ่มขึ้นอีกทั้งกระตือรือร้นต่อการเติบโตอย่างรวดเร็ว ของเทคโนโลยี
ระยะที่ 3 ระยะการควบคุม (Control) ในช่วงนี้ฝ่ายจัดการเริ่มห่วงใยเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น ผลประโยชน์และต้นทุนของเทคโนโลยีเริ่มเป็นประเด็นที่สำคัญ ปัญหาของการวางแผนและการควบคุมถูกนำเสนอขึ้นมา ผู้ใช้สามารถชี้แจงเหตุผลของการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีในด้านต้นทุนและประสิทธิภาพที่ได้รับ โดยการปรับและควบคุมให้เหมาะสม เช่น การกำหนดมาตรฐาน การควบคุมต้นทุนและการพัฒนาแผนสำหรับการเติบโตต่อไป
ระยะที่ 4 ระยะรวมกัน (Integration) ระยะต่าง ๆ แพร่ขยายอย่างต่อเนื่องโปรแกรมที่ประยุกต์ใช้ได้รับการ มีการใช้เทคโนโลยีฐานข้อมูลการวางแผนและการควยคุมระบบถูก จัดทำขึ้นแบบเป็นทางการ มุ่งเน้นการรวมความคิดของระบบต่าง ๆ ฝ่ายจัดการจะสนใจความมีอำนาจของระบบและฐานข้อมูลต่างๆ ที่ใช้อยู่ระยะนี้ถูกำหนดลักษณะโดยการกลั่นกรองระบบ โดย เฉพาะอย่างยิ่งศูนย์รวมโดยรอบของเทคโนโลยีฐานข้อมูล การวางแผนและควบคุมระบบต่าง ๆ สำหรับ ให้เป็นระบบมากขึ้นและรวมกันได้ดีขึ้น
ระยะที่ 5 การบริหารข้อมูล (Data administration) ในระหว่างช่วงนี้ ฝ่ายจัดการจะกังวลเกี่ยวกับคุณค่าของข้อมูลดิบและข้อมูลข่าวสาร หน้าที่ของการบริหารข้อมูลจึงกำหนด การจัดการ และการควบคุมฐานข้อมูลเพื่อให้มั่นใจได้ว่าถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและจัดสรรการใช้งานได้อย่างเหมาะสม
ระยะที่ 6 การเติบโตเต็มที่ (Maturity) ในองค์การต่างๆ ที่เข้าสู่ระยะนี้กระบวนการจัดการและเทคโนโลยีจะถูกรวบรวมเข้าด้วยกันสู่หน้าที่งานทั้งหลายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การวางแผนข้อมูลด้านกลยุทธ์และข้อมูลทรัพยากรของการจัดการจะเชื่อมความรับผิดชอบของ MIS กับผู้ใช้ทั้งหลาย อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีใหม่ที่แนะนำเข้ามาอาจจะเป็นส่วนหนึ่ง หรือระบบสมบูรณ์ทั้งหมดที่เป็นต้นเหตุให้วงจรชีวิตมีการเริ่มต้นใหม่โมเดลระยะของการเจริญเติบโตมีความสำคัญต่อ การศึกษาธุรกิจ และ MIS เนื่องจากการ ตัดสินใจอย่างเหมาะสมมีความสัมพันธ์กับระยะการเจริญเติบโตขององค์การรวมทั้งระหรือผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ในช่วงนั้นๆ
4. ปัจจัยด้านบุคคล (Personal Factors) ปัจจัยด้านสถานการณ์ที่สำคัญในสถานการณ์ของการจัดการ คือ การเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ของผู้บริหาร สไตล์ของการจัดการที่ดำเนินการ ของผู้บริหาร รายหนึ่งอาจไม่เกิดประสิทธิภาพสำหรับผู้บริหารรายอื่น ตัวอย่าง ผู้บริหารบางคนมีความรู้สึกอ่อนไหวและมุ่งเน้นคน(People-oriented) มากกว่าผู้บริหารคนอื่นถ้าเขากระทำการรุนแรงกับ ผู้ใต้บังคับ บัญชาในการแก้ปัญหาด้านการทำงานก็เป็นไปได้ที่เขาจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่งานได้สำเร็จ เมื่อบริษัทเจริญเติบโตขึ้น ผู้บริหารอาจพบว่าสไตล์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของการปฏิบัติ หน้าที่งานได้สำเร็จ เมื่อบริษัทเจริญเติบโตขึ้น ผู้บริหารอาจพบว่าสไตล์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal style) ของการปฏิบัติงานที่ดีในขณะที่บริษัทยังเล็ก อาจไม่เหมาะสมกับบริษัทเมื่อ ขยาย เติบโตขึ้น
สถานการณ์สำคัญ 2 อย่างที่อาจมีผลมาจากการตัดสินใจคือ ความขัดแย้งของผลประโยชน์ (Conflict of interest) และการเปลี่ยนอำนาจ (Power shifts) ตัวอย่าง ผู้บริหารระดับกลางมัก อยู่ในตำแหน่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของบทบาท (Role-conflict) เสมอ เนื่องจากพยายามสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและพยายามดำเนินการ ให้เป็นผลดีสำหรับการรายงานของ พนักงานที่ส่งมาถึงเขา นักวิเคราะห์ระบบต้องเผชิญความขัดแย้งของผลประโยชน์ของแผนก MIS ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และผู้บริหารระดับสูงที่มีตำแหน่งในบทบาท ของความขัดแย้ง ระบบข้อมูล ข่าวสารทั้งหลายมีผลกระทบมาจากการเปลี่ยนอำนาจและการกระจายอำนาจใหม่ การนำการควบคุมที่จะสร้างหรือลดความขัดแย้งในผลประโยชน์ ตัวอย่าง ผู้บริหารการประมวลผลข้อมูล จำนวนมากพยายามทำลายไมโครคอมพิวเตอร์เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มุ่งเข้าสู่องค์กรเป็นครั้งแรก ซึ่งพิจารณาว่าไมโครคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปสรรคกับฐาน ของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe-based) แต่นักวิชาการเชื่อว่าแผนกสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) จะสามารถผลักดันภาษาของโปรแกรมที่ซับซ้อนต่าง ๆ ได้อย่างประสบผลสำเร็จตาม มาตรฐานของบริษัทได้โดยการขัดขวางอุปสรรคต่าง ๆ ของฐานอำนาจจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ จากการคำนวณของผู้ใช้คนสุดท้าย
ค่านิยมของผู้ตัดสินใจเป็นตัวอย่างของปัจจัยด้านสถานการณ์ที่สำคัญ เช่นบุคคลที่กำลังเดือดร้อนบางครั้งอาจเป็นรายสุดท้ายที่จะถูกไล่ออกเพราะผู้บริหารอาจ มีความรู้สึกอ่อนไหว กับพนักงานเป็นอย่างมากหรือผู้บริหารบางคนอาจถือว่าคุณภาพของชีวิตเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นผู้ตัดสินใจที่มีค่านิยมในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลของธุรกิจขนาดเล็กอาจยกเลิก ทาง เลือกของการตัดสินใจทางอื่นการจะขยายของธุรกิจให้เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีความเสี่ยงมากขึ้น
บทบาทด้านการจัดการ
Henry Mintzberg ได้กำหนดสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องทำออกเป็นหน้าที่ย่อย 10 ข้อ จากหน้าที่หลัก 3 ประการคือ บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บทบาทด้านข้อมูล ข่าวสาร และ บทบาทด้านการตัดสินใจ
1.บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal roles) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การ จะทำหน้าที่
1) หัวหน้าแต่ในนาซึ่งไม่มีอำนาจ (Figurehead) เป็น บทบาทระหว่างบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดงานและกิจกรรมต่าง ๆ
2) ผู้นำ (Leadership) เป็นบทบาทซึ่งกำหนด โดยผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป ให้มีหน้าที่กำกับดูแลสั่งการต่อผู้ใต้บังคับ บัญชาได้ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3) ผู้ประสานงาน (Liaison) เป็นบทบาทที่มีหน้าที่ในการประสานงานกับบุคคลของ หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์การ
ในอดีตเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีน้อยที่จะเข้ามาช่วยบทบาทของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแต่ปัจจุบันการรวมตัวของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัส แนวทางใหม่ เช่นการใช้ Electronic mail, Voice mail และการสนทนาทางไกลที่เห็นภาพและเสียง (Video teleconferencing) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่สำคัญเร่งด่วนได้ดี
2. บทบาทด้านข้อมูลข่าวสาร (Informational roles) คือบทบาทซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการตรวจสอบการแพร่และการถ่ายทอดข้อมูล บทบาทด้านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้บริหาร ในฐานะเป็น ผู้รับ (Receiver) หรือผู้ส่ง (Sender) ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งประกอบด้วย 1 บทบาทผู้ตักเตือน (Monitor role) เป็นบทบาทในการกำหนดมาตรฐานเพื่อให้มั่นใจในความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ ข้อมูลข่าวสารที่ถูกเผยแพร่ออกสู่ภายนอกโดยการส่งข้อมูลไปสู่บุคคลภายนอกอย่างระมัดระวังด้วยผลผลิต (Output) จากกระดาษคุณภาพสูงและเลเซอร์พริ้นเตอร์ ซึ่งนำเสนอในรูปของกราฟ หรือแฟ้มข้อมูลที่น่าสนใจ เมื่อข้อมูลข่าวสารได้เผยแพร่ภายในหน่วยงานผู้บริหารก็ประสบความสำเร็จ 2 ผู้เผยแพร่ (Disseminator role) และเมื่อกระจายออกสู่ภายนอกหน่วยงานผู้บริหารจะเป็น 3.ผู้แถลงข่าวสาร (Spokesperson role) เทคโนโลยีสารสนเทศจำนวนมากสามารถช่วยผู้บริหารให้ประสบความสำเร็จในบทบาทด้านข้อมูลข่าวสารระบบรายงานด้านการจัดการ และ ระบบข้อมูลข่าวสารด้านการบริหาร สามารถนำมาใช้ในการให้ได้มาตลอดจนสรุปผลข้อมูลข่าวสารที่ผู้บริหารต้องการ เทคโนโลยีต่าง ๆ จึงสัมพันธ์กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบนข้อมูล ข่าวสารของสำนักงาน อาจใช้ ประโยชน์ในการวิเคราะห์และจัดระบบข้อมูลเพื่อการเผยแพร่และการนำเสนอ การสนับสนุนระบบข้อมูลข่าวสารให้สำเร็จต้องอาศัยรูปแบบด้านบทบาทของ ซึ่งได้แสดง ในรูปที่ 4.6
3.บทบาทด้านการตัดสินใจ (Decisional role) คือ การตัดสินใจเลือกระหว่างสองทางเลือกขึ้นไป ซึ่งเป็นการเลือกระหว่างทางเลือกที่คาดหวังว่าจะนำไปสู่ผลลัพท์ที่พึงพอใจจากปัญหา ใดปัญหาหนึ่ง ทฤษฎีระบบข้อมูลข่าวสารและการจัดการครอบคลุมด้านการวางแผนและการควบคุมหน้าที่การวางแผนและการควบคุมทางการจัดการนำผลมาสู่บทบาทด้านการตัดสินใจ ซึ่งประกอบด้วย การ เป็นผู้ประกอบ (Entrepreneurism)ผู้ควบคุมสิ่งรบกวน (Disturbance handling) ผู้จัดสรรทรัพยากร (Resource allocation) และผู้เจรจาต่อรอง (Negotiation)
3.1 บทบาทผู้ประกอบการ (Entrepreneurial role)เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์ ของผู้บริหารในสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมของการวางแผนและการควบคุม ทั้งหมด
3.2 บทบาทผู้ควบคุมสิ่งรบกวน (disturbance - handler role)ของผู้บริหารเกี่ยวข้องกับการควบคุมผู้บริหารทั้งหลายต้องออกแบบระบบสำหรับจำแนกและควบคุมสิ่งรบกวนที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหา
3.3 บทบาทผู้จัดสรรทรัพยากร (Resource allocation role) เกี่ยวข้องกับการวางแผนโดยการจัดการ เวลา บุคคล เงิน และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จของการปฏิบัติงาน
3.4 บทบาทผู้เจรจาต่อรอง (Negotiation role) จำเป็นที่ผู้บริหารต้องต่อสู้เพื่อวิสัยทัศน์ของเขาผู้บริหารการผลิตต้องการเพิ่มการผลิตขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ต้องเจรจาต่อรองกับผู้บังคับบัญชาที่เหนือ กว่าเพื่อให้ได้เงินทุนในการซื้อโรงงานใหม่หรือสร้างระบบการผลิตใหม่ เป็นต้น

3.7 วิธีพื้นฐานในการพัฒนาระบบ
การพัฒนาระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับแต่ละองค์การอาจจะต้องใช้วิธีที่ต่างกัน เนื่องจากองค์การหรือหน่วยงานแต่ละแห่งจะมีรูปแบบของการดำเนินธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะของตนเอ โดยที่บางองค์การเพียงแค่ต้องการที่จะปรับปรุงการดำนเนินงานจากระบบเดิมที่มีอยู่ให้เป็นระบบใหม่ที่สมบูรณ์ขึ้น ขณะที่บางองค์การต้องการระบบสารสนเทศใหม่ทั้งระบบ นอกจากนั้นแต่ละองค์การ ก็มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบแตกต่างกัน เช่น บางองค์การต้องการมีระบบที่ทำหน้าที่เฉพาะในหน่วยงาน แต่บางองค์การก็ต้องการระบบเพื่อทำหน้าที่อื่นตามความต้องการของผู้ใช้ เป็นต้น ซึ่ง วิธีการพัฒนาระบบ (System Development Approach) จะมีผลต่อความสำเร็จและประสิทธิภาพการทำงาน ปกติเราจำแนกวิธีการพื้นฐานที่ใช้ในการพัฒนาระบบออกเป็น 4 วิธีดังต่อไปนี้
1. วิธีเฉพาะเจาะจง (Adhoc Approach) เป็นวิธีการแก้ปัญหาในงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว โดยการดำเนินการจะไม่คำนึงถึงงานหรือปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น วิธีเฉพาะเจาะจงเหมาะสมกับหน่วยงานที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและบ่อยครั้ง อย่างไรก็ดีวิธีนี้มีข้อจำกัดสำคัญคือ อาจก่อให้เกิดการซ้ำซ้อนของงานระบบประมวลผลข้อมูล ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และขาดมาตรฐานขององค์การ เพราะเมื่อแต่ละหน่วยงานต้องการระบบสารสเทศเพื่อมาแก้ปัญหาก็จะพัฒนาระบบและจัดเก็บข้อมูลเอง ซึ่งอาจจะซ้ำซ้อนกับข้อมูลที่มีอยู่ในส่วนอื่นของ องค์การ ดังนั้นการพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยวิธีการนี้จึงต้องตรวจสอบสถานะและมาตรฐานของระบบสารสนเทศในองค์การ เพื่อป้องกันความผิดพลาด
2. วิธีสร้างฐานข้อมูล (Database Approach) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในหลายองค์การที่ยังไม่มีความต้องการระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ (Strategic Information System) โดยที่ผู้ใช้ให้ความ สำคัญกับการพัฒนาฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถรวบรวม จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูล ได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะง่ายต่อการเรียกข้อมูลกลับมาใช้ เนื่องจากฐานข้อมูลเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานสำหรับ การบริหางานในหลายองค์การ โดยผู้พัฒนาระบบพยายามจัดการให้ข้อมูลที่เก็บไว้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เนื่องจากระบบสารสนเทศยังไม่บูรณาการเข้ากับกลยุทธ์ขององค์การ ทำให้ นักวิเคราะห์ไม่ทราบความต้องการที่แน่นอนของผู้บริหาร ดังนั้นชุดคำสั่งที่ใช้กับระบบนี้มักเป็นชุดคำสั่งเฉพาะที่มีลักษณะสั้น ๆ และปฏิบัติงานกับข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ
3. วิธีจากล่างขึ้นบน (Bottom-up Approach) เป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศจากระบบเดิมที่มีอยู่ภายในองค์การไปสู่ระบบใหม่ที่ต้องการ โดยที่ทีมงานพัฒนาระบบจะทำการตรวจสอบ ว่าสิ่งใดที่มีอยู่แล้วในระบบปัจจุบัน ซึ่งจะสามารถนำมาพัฒนาหรือเพิ่มเติมเทคโนโลยีบางอย่าง ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่ในระบบปัจจุบัน เพื่อให้การดำเนินงานมีความสมบูรณ์และ มีประสิทธิภาพ ขึ้น
4. วิธีจากบนลงล่าง (Top-down Approach) เป็นวิธีการพัฒนาระบบจากนโยบายหรือความต้องการของผู้บริหารระดับสูง โดยไม่คำนึงถึงระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันขององค์การ การ พัฒนาระบบสารสนเทศด้วยวิธีนี้จะเริ่มจากการสำรวจกลยุทธ์องค์การ ความต้องการและปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารระดับสูงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากนั้นทีมงานพัฒนา ระบบจ ะเริ่มทำการพัฒนาระบบใหม่ให้ตรงกับความที่ต้องการของผู้บริหาร หลังจากนั้นจึงทำการปรับปรุงระบบเดิมที่มีอยู่ภายในองค์การให้เป็นไปตามแนวทางของระบบหลัก
การพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อย่างสมบูรณ์เกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ตั้งแต่การศึกษาความต้องการของผู้ใช้ระบบตลอดจนวิธีการพัฒนา ระบบ ซึ่งทีมงานพัฒนาระบบต้องทำการศึกษาอย่างรอบคอบ เพื่อกำหนดแนวทางและขั้นตอนการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม เตรียมรับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น ประการสำคัญผู้พัฒนาระบบต้อง มีความคิดสร้างสรรค์เข้าใจภาพรวมของระบบงาน เทคโนโลยี และคำนึงถึงปัจจัยด้านบุคคล โดยเฉพาะการเมือง และการสร้างความยอมรับในองค์การ

3.8 ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ในการพัฒนาระบบสารสนเทศ สามารถที่จะแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การสำรวจเบื้องต้น (Preliminary Investigation) เป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยผู้พัฒนาระบบจะสำรวจหาข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับ ระบบงาน ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบที่ต้องการ สิ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ในการดำเนินงาน และประมาณการของค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ โดย ข้อมูลที่ได้จะนำเสนอให้กับผู้บริหารของหน่วยงาน เพื่อที่จะตัดสินใจว่าองค์การสมควรที่จะมีการพัฒนาระบบสารสนเทศหรือไม่ และระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาขึ้นสมควรจะมีลักษณะเป็นเช่นไร
2. การวิเคราะห์ความต้องการ (Requirement Analysis) เป็นขั้นตอนที่มุ่งเจาะลึกลงในรายละเอียดที่มากกว่าในขั้นสำรวจเบื้องต้น โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการข องผู้ใช้ การใช้งานในแต่ละด้านของระบบใหม่ ข้อเด่นและข้อด้อยของวิธีการทำงานในปัจจุบันตลอดจนการจัดทำรายงานสรุปเพื่อนำเสนอต่อฝ่ายจัดการสำหรับทำการตัดสินใจ
3. การออกแบบระบบ (System Design) ทีมงานพัฒนาระบบจะทำการออกแบบรายละเอียดในส่วนต่าง ๆ ของระบบสารสนเทศ ได้แก่ การแสดงผลลัพธ์ การป้อนข้อมูล กระบวน การารเก็บรักษา การปฏิบัติงาน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบงานใหม่ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับนำมาพัฒนาเป็นระบบใหม่ต่อไป
4. การจัดหาอุปกรณ์ของระบบ (System Acquisition) ทีมงานพัฒนาระบบจะต้องกำหนดส่วนประกอบของระบบทั้งในด้านของอุปกรณ์และชุดคำสั่ง ตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ต้อง การจาก ผู้ขาย ปกติทีมงานพัฒนาระบบจะต้องทำการจัดหาสิ่งที่ต้องการ โดยเปิดให้มีการยื่นข้อเสนอจากผู้ขายอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยทีมพัฒนาระบบจะพิจารณาตัดสินข้อเสนอของผู้ขายแต่ละราย เพื่อนำอุปกรณ์และส่วนประกอบของระบบมาติดตั้งและพัฒนาเป็นระบบใหม่ต่อไป
5. การติดตั้งระบบและการบำรุงรักษา (System Implementation and Maintenance) ทีมงานพัฒนาระบบจะควบคุมและดูแลการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบใหม่โดยดำเนินการ ด้วยตัวเองหรือจ้างผู้รับเหมา ทีมงานพัฒนาระบบต้องทดสอบการใช้งานว่า ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์และรูปแบบที่ได้ทำการออกแบบไว้หรือไม่ นอกจากนี้การติดตั้งควร ที่จะสำเร็จตามตารางที่กำหนด เพื่อให้ระบบสามารถใช้งานแทนที่ระบบเก่าได้ทันเวลา นอกจากนี้ทีมงานพัฒนาระบบยังมีหน้าที่กำหนดกฎเกณฑ์ในการประเมินและการบำรุงรักษาระบบอย่าง สม่ำเสมอเพื่อปรับปรุงและบำรุงรักษาให้ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยาวนานที่สุดตลอดอายุของระบบ
การพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพยังต้องมีกระบวนการ หรือขั้นตอนในการพัฒนาระบบที่ดี ประการสำคัญทีมงานพัฒนระบบต้องเข้าใจในกระบวนการพัฒนาระบบเป็นอย่างดี เพื่อให้สมาชิกแแต่ละคนได้รู้หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองอย่างชัดเจน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานพัฒนาระบบเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็ว

สร้อยสุดา กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
นักร้องเปื้อนฝุ่น กล่าวว่า...

Quiz sarah moris


การจัดเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ปัจจุบันหรือเหตุการณ์ปัจจุบันในการดำธุรกิจ IT การจัดเก็บข้อมูลคือแฟ้มและฐานข้อมูล( file and Database processing) เอกสารและรายงานที่ช่วยในการอ้างข้อเท็จจริง (Document and Report Generation) ข้อมูล (Data Eatry) ประผลข้อมูล เครืองเลเชอร์ คือระบบประมวลผมมาใช้ในองค์กรเมือนำข้อมูลเข้าสู่ระบบประมวลผล โดยดึงและจัดเก็บข้อมูล เพื่อสร้างเป็นรายงานสามารถแสดงผลผ่านทางเครืองพิมพ์(printer)
ลักษณะฐานข้อมูลที่ที่ผ่านการประมวลนั้นประกอบไปด้วย แบบฟอร์ม รูปแบบรายงานผล การประมวลผล(on-line or Off-line) ลักษณะการจัดฐานข้อมูล การควบคุบและการป้องกันฐานข้อมูล การจัดทำโปรแกรมต้นทุนและผลตอบแทน นั่นคือ ต้องใช้ระบบ Hardware,Sofware, อุปกรณ์โดยระบบการจัดฐานข้อมูลจะกำหนดจัดการข้อมูลตามผู้ตัดสินใจได้นั้นจะต้องผ่านส่วนการตอบโต้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นข้อมูการตัดสินใจ


พรพิศ ผ่านภักดี 501-00-0288

กรรณิการ์ เพียแก้ว 501-00-0289

sinjung กล่าวว่า...

ระบบงาน คุณ... sarah Morris




Input (ส่วนนำเข้า)

ข้อมูลของลูกค้า
- ชื่อ
- ที่อยู่
- อายุ
- เพศ
- เบอร์โทรศัพท์
- E-mail

Process (ส่วนดำเนินการ)
- ให้คำปรึกษาทาง
- โทรศัพท์ e-mail
- ในการสัมมนาเปิดโอกาสให้ชักถาม
- บันทึกข้อมูลของลูกค้าลงในคอมพิวเตอร์
- จัดส่งเอกสารให้ลูกค้า

Output (ส่วนผลลัพธ์)
- มีข้อมูลลูกค้าอยู่ในคอมพิวเตอร์
ซึ่งประกอบด้วย
- ชื่อ ที่อยู่
- อายุ เพศ
- เบอร์โทรศัพท์ e-mail

Feedback (ส่วนป้อนกลับ)
- ลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลง
ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์
ทำให้ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้

จากระบบงานของคุณซาร่าเบื้องต้นคุณซาร่าสามารถนำระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการคีร์ข้อมูลของลูกค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ทที่คุณชาร่ามีโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในสำนักงานของคุณซาร่าเอง โดยมีเว็บไชต์เหมือนที่ขึ้นเว็บของมหาวิทยาลัยของเรา แล้วก็มีการป้อนรหัสผู้ใช้ไว้สำหรับให้พนักงานเข้าไปเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อมูลของลูกค้าหากมีการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เหล่านี้เป็นต้น และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าทำการเปลี่อนแปลงข้อมูลของเราได้อีกด้วย

การแสดงความคิดเห็นของลูกค้าหรือลูกค้ามีคำปรึกษาคุณซาร่า ก็สามารถทิ้งคำถามไว้บนเว็บบอร์ดของคุณซาร่าเอง แล้วสามารถเข้ามาดูคำตอบที่คุณซาร่าได้ตอบไว้หน้าเว็บ หรือลูกค้าอาจจะทิ้งอีเมลล์ของตัวเองไว้ แล้วคุณซาร่าสามารถให้คำตอบส่งไปทางอีเมลล์ของลูกค้าได้ หรือมีการฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้และสามารถตอบคำถามที่ลูกค้าขอคำปรึกษาได้ทางระบบ call center ทำให้เกิดความสะดวกสบายแก่ลูกค้า

หากคุณซาร่าต้องการหาลูกค้าก็สามารถเข้าไป Post ข้อมูลผ่านเว็บไชต์ที่ได้รับความนิยม เช่น www.kapook.com www.sanook.com เป็นต้น แล้วทำการแนะนำเว็บไชต์คุณซาร่า

คณะผู้จัดทำ 1.นางสาวจินตนา หมอป่า รหัส 491-00-0952 (ม.เกริก)



2.นางสาวสุจิตรา สุดสม รหัส 491-00-2382 (ม.เกริก)

Pooh กล่าวว่า...

กรณีศึกษา Sarah morris
การออกแบบระบบโดยการให้ลูกค้าเป็นศูนย์รวมทางธุรกิจ โดยการยึดลูกค้าเป็นหลักในการทำธุรกิจ โดยคำนึงว่าในอนาคตลูกค้าต้องการอะไร การให้คำตอบกับลูกค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วทันใจเป็นการจัดการด้านบริการที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้า หรือการให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่มีคุณภาพมากกว่าราคา จำต้องมีการนำเอาระบบต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการปฏิบัติงานเพื่อให้ง่ายและสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ซึ่งการออกแบบงานจะมีวิธีการนำเอาเทคโนโลยีหรือโปรแกรมต่าง ๆ เข้ามาช่วย
Sarah จะต้องมีเว็ปไซต์เพื่อติดต่อสื่อสารกับลูกค้าหรือโฆษณาข่าวสารให้กับลูกค้าได้ทราบถึงรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ เพื่อจะได้ส่ง E-Mail ให้กับลูกค้าได้ทราบและตอบข้อสงสัยต่าง ๆ โดย Sarah แบ่งงานให้กับลูกจ้างทำหน้าที่ต่าง ๆ เช่น รับโทรศัพท์,คอยเช็คข้อมูลลูกค้า,ข้อมูลด้านธุรกิจจัดพิมพ์เอกสารสำหรับการสัมมนาและเตรียมเรื่องการเดินทางนอกจากนี้ยังช่วยเตรียมและส่งเอกสารทางไปรษณีย์ด้วย แต่การแบ่งงานที่ให้ลูกจ้างทำอาจจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เข้ามาช่วยเพื่อให้ง่ายขึ้น เป็นต้น
สมาชิกในกลุ่ม
1.นายภูวนารถ เชื้อมอญ 501-00-1510
2.นายธิมากรณ์ แย้มกลิ่น 501-00-2216
3.นางสาวมิ่งขวัญ ชุมสาย ณ อยุธยา 501-00-2259

Sarah Morris กล่าวว่า...

ส่ง QUIZ ครั้งที่ 1 วิชา บธ.3108 ระบบสารเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์

นางสาว สุพัตรา พานิช 501-00-1455
นางสาว ขนิษฐา กล้าศึก 501-00-2297
นางสาว อรทัย ณ.สมุทร์ 501-00-2303


การจะดำเนินธุรกิจหรือทำการงานใดๆ ในปัจจุบันจะต้องควบคู๋ไปกับสารสนเทศที่ดีและทันสมัยเพราะสามารถนำสารสนเทศมาปรับใช้กับธุรกิจของเราได้
ในการออกแบบงานIT เพื่อสนับสนุนงานคุณ Sarah Moris นัน้ เราจะต้องคำนึงว่าในการดำเนินธุรกิจ ลูกค้าต้องการอะไรบ้างในอนาคต เมื่อลูกค้ามีข้อสงสัยและเข้ามาศึกษาหรือถามเรา เราก็ต้องให้คำตอบกับลูกค้าอย่างรวดเร็ว โดยการติดต่อทางโทรศัพท์และใช้ Internet เพื่อยึดให้ลูกค้าได้อยู่กับธุรกิจของเราไปนานๆ เป็นการจัดการด้านบริการที่ดีให้กับลูกค้า คือทำให้ลูกค้าได้รับการบริการสูงสุด Sarah ควรจัดทำเว็บบอร์ดเพื่อใช้ตอบคำถามและให้บริการกับลูกค้าได้ โดยจะรวบรวมเอาคำถามที่มีคนอยากรู้มากที่สุดเอามาตอบและลูกค้าก็เข้ามาดูได้เลย และจะได้คำตอบที่ต้องการรู้อย่างรวดเร็วทันใจ เราสามารถติดต่อกับลูกค้าทางคอมพิวเตอร์ได้ เพราะมีระบบสารสนเทศที่ทันสมัยใช้ง่ายเเละรวดเร็ว

ออกแบบระบบการทำงานของ Sarah morris กล่าวว่า...

ส่ง link งานชิ้นที่1 sarah morris

ออกระบบการทำงานของของ Sarah morris
ในกรณีนี้ Sarah จะต้องยึดลูกค้าเป็นหลักในการทำธุรกิจ และ Sarah จะต้องคำนึงถึงลูกค้าที่เขามาใช้บริการว่าเขาต้องการอะไรเป็นหลักสำคัญ และเมื่อเราทราบถึงจุดประสงค์ของลูกค้าแล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจกับสินค้าของเรา และการบริการในที่นี้จะต้องรวดเร็วและทันใจกับความต้องการของลูกค้าที่สำคัญจะต้องเน้นคุณภาพเป็นหลักสำคัญเพื่อจะให้ลูกค้าอยู่กับเรานานๆ และในกรณีที่ Sarah มีลูกค้าเป็นจำนวนมากเราควรจะทำอย่างไรเพื่อจะให้รวดเร็วและทันใจกับความต้องการของลูกค้า และเราก็ควรจะต้องให้ Sarah สร้าง WWW. เป็นของตัวเอง เพื่อที่จะให้ลูกค้าสามารถเข้ามาดูข้อมูลและรายละเอียดต่างๆได้ หลังจากนั้น Sarah ก็จะต้องมี E-Mail ให้กับลูกค้า เพื่อที่จะได้ตอบคำถามหรือข้อสงสัยให้กับลูกค้าได้รวดเร็วทันใจ และไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปพบลูกค้าเพื่อที่จะตอบคำถามโดยตรงแต่เปลี่ยนมาตอบคำถามหรือข้อสงสัยทาง E-Mail แทน และ Sarah จะต้องมีผู้ช่วยเพื่อที่จะไม่ให้งานของ Sarah วุ่นวายจนเกินไป และเขาจะต้องแบ่งงานให้กับผู้ฃ่วยว่าควรจะทำอะไรบ้างในขณะที่เขาจะต้องไปทำงานอย่างอื่น และ Sarah จะต้องคัดสรรและจัดหาผู้ช่วยที่มีความชำนาญในด้านของดารพูดเป็นอย่างดี และผู้ช่วยของ Sarah ก็จะต้องมีบทบาทเข้ามาช่วย Sarah ในการตอบข้อสงสัยให้กับลูกค้า และเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาเสนอให้กับ Sarah เพื่อที่จะดูความถูกต้องของงานที่ไทอยู่ และงานจะได้ออกมาถูกต้องตามความต้องการของลูกค้าและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น.

ออกแบบระบบการทำงานของ Sarah morris กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ออกแบบระบบการทำงานของ Sarah morris กล่าวว่า...

นางสาว อันชรีย์ มากมูล 501-00-1462
นางสาว กัลยาณี ฉิมมี 501-00-1462
นาย วิษณุ แดงเพชร 501-00-1465
อาจารย์ขอโทษคะหนูลืมใส่ชื่อ

krung Nathamtong กล่าวว่า...

ส.อ.กรุง นาแถมทอง รหัส 502-30-0003

Bio กล่าวว่า...

จากกรณีของคุณ Sarah Morris เธอจะต้องปรับปรุงโครงสร้างและองค์ประกอบในการทำงานใหม่ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน การนำโปรแกรม Hardware และ Software เข้ามาช่วยในการทำงานและที่สำคัญเธอจะต้องสร้างเว็บไซต์เป็นของตนเอง เพื่อมี E-mail ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและยังสามารถรับฟังความคิดเห็นและให้คำปรึกษาผ่านทาง E-mail ได้อีกด้วย
นอกจากนี้เธอยังสามารถเผยแพร่ E-mail ผ่านทาง Internet เพื่อเพิ่มลูกค้าก็ได้
ส่วนการจ้างคนมาเพื่อช่วยทำงานธุรกิจเธอจะต้องวางแผนการทำงานโดยเป็นลำดับขั้นตอน อย่างแรกคือวางแผนด้านกำลังคนและสรรหาให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและความประพฤติดี เมื่อได้บุคคลตามที่ต้องการแล้วก็บรรจุเข้าทำงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการในทุกๆด้าน

Program
System Programs
- Operating System < OS >

โปรแกรมระบบงาน
- Text Based Program
- Grapluc Users Interface < GUI >

- Utility Programs
- Format Dish
- Communication Ation Control Program < CCP>
- Database Management System < DBMS >

- Application Programs
- Front end
- Back end
Marketing

Horizontal Market Program
- Word Processing = MS Word
- Spread Sheet = MS Excel
- Database = MS Access
- Electronic Presentation = MS Power Point

Vertical Market Program
- เป็นโปรแกรมเฉพาะงาน
- มี Prototype เป็นเครื่องมือ

Custom Program
- เขียนขึ้นมาเองหรือการว่าจ้าง

Personal in Formation System

Integrated Application
- Package Application
- Share Data to Other Application
- Static Integrated
- Dynamic Integrated

Unknown กล่าวว่า...

Sarah เป็นผู้ให้บริการจัดการสัมมนา เป็นนักจิตวิทยามานาน แต่ Sarah เธอเป็นนักพูดที่มีพรสวรรค์ เธอจึงกลายไปเป็นนักพูด
ระบบของสารสนเทศของSarah ควจจะต้องมีดังนี้ Sarah ควรจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์อย่าน้อง2เครื่อง คือ Computer PC และ Computer Notebook Computer Notebook สะดวกเพื่อที่จะใช้ในการพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก นอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ก็ควรจะมี printer และ เครื่อง scan อุปกรณ์ทั้งหมดเหล่านี้ เป็นส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ printer มีหน้าที่ในการใช้งานคือเครื่องพิมพ์ที่ใช้หัวพิมพ์กระทบไปบนกระดาษหรือวัตถุที่ต้องการพิมพ์ เพื่อให้เกิดเป็นตัวอักษร หรือรูปภาพตามต้องการ ทำให้เกิดเสียงดังขณะพิมพ์ แต่จะสามารถพิมพ์แบบฟอร์มหลายๆชั้นได้ ส่วน scannerมีหน้าที่การใช้งานดังนี้ อุปกรณ์ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก ที่มีหน้าที่ ในการเปลี่ยนแปลงภาพต้นฉบับ (รูปถ่าย ตัวอักษรบนหน้ากระดาษ ภาพวาด) ให้เป็นข้อมูล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้ประโยชน์ ในการแสดงผลที่หน้าจอ และ ระบบของSarahควรจะมี e-mailเป็นของตนเอง เพื่อที่จะได้รับส่งข้อมูลระหว่างลูกค้าได้สะดวก และก็ควรจะมี websiteเป็นของตนเอง เพื่อที่ลูกค้าจะได้เข้ามาดูรายละเอียดของตนเองได้ การที่Sarah จะทำงานในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ควรจะมี Program Microsoft Office เพื่อใช้ในการทำงาน แต่ใน Program Microsoft Office ก็จะแบ่งแยกออกไปในการทำงานของมันแต่ล่ะตัวเช่น ถ้าจะใช้ในการนำเสนอ ก็ควรจะใช้Program Power Point ในการนำเสนอ Power Point ก็คือ ในลักษณะคล้ายๆกับการฉายสไลด์ (Slide Show) โดยเราสามารถใช้คำสั่งของ Power Point สร้างแผ่นสไลด์ที่มีรูปภาพและข้อความบนนยายเรื่องราวที่ต้องการจะนำเสนอได้อย่างรวดเร็วพร้อมทั้งกำหนดลักษณะแสง-เงาและลวดลายสีพื้นให้สไลด์แต่ละแผ่นมีความสวยงามน่าสนใจยิ่งขึ้น และก็ควรจะมี Microsoft Excel ในการแบ่งทำตารางในPresentation อีกด้วย

อภิชาต ศรีวัชคุณประภา 461-00-0024
กาญจนา วังบัวโป่ง 491-30-0052
วรวุฒ กล่องแก้ว 502-30-0002

Bio กล่าวว่า...

จากกรณีของคุณ Sarah Morris เธอจะต้องปรับปรุงโครงสร้างและองค์ประกอบในการทำงานใหม่ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน การนำโปรแกรม Hardware และ Software เข้ามาช่วยในการทำงานและที่สำคัญเธอจะต้องสร้างเว็บไซต์เป็นของตนเอง เพื่อมี E-mail ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและยังสามารถรับฟังความคิดเห็นและให้คำปรึกษาผ่านทาง E-mail ได้อีกด้วย
นอกจากนี้เธอยังสามารถเผยแพร่ E-mail ผ่านทาง Internet เพื่อเพิ่มลูกค้าก็ได้
ส่วนการจ้างคนมาเพื่อช่วยทำงานธุรกิจเธอจะต้องวางแผนการทำงานโดยเป็นลำดับขั้นตอน อย่างแรกคือวางแผนด้านกำลังคนและสรรหาให้ได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและความประพฤติดี เมื่อได้บุคคลตามที่ต้องการแล้วก็บรรจุเข้าทำงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการในทุกๆด้าน

Program
System Programs
- Operating System < OS >

โปรแกรมระบบงาน
- Text Based Program
- Grapluc Users Interface < GUI >

- Utility Programs
- Format Dish
- Communication Ation Control Program < CCP>
- Database Management System < DBMS >

- Application Programs
- Front end
- Back end
Marketing

Horizontal Market Program
- Word Processing = MS Word
- Spread Sheet = MS Excel
- Database = MS Access
- Electronic Presentation = MS Power Point

Vertical Market Program
- เป็นโปรแกรมเฉพาะงาน
- มี Prototype เป็นเครื่องมือ

Custom Program
- เขียนขึ้นมาเองหรือการว่าจ้าง

Personal in Formation System

Integrated Application
- Package Application
- Share Data to Other Applicationo
- Static Integrated
- Dynamic Integrated


นางสาววิลาวัลย์ รัตนะ 501-00-1534
นายพิศาล มั่นนาค 501-00-1584
นางสาวนงลักษณ์ ปั้นทิม 501-00-2260

krung Nathamtong กล่าวว่า...

อาจารย์ครับผมทำBlogส่งได้แล้วนะครับขอบคุณอาจารย์มากครับ
http://krung502-30-0003.blogspot.com
อาจารย์ช่วยแนะนำขั้นตอนต่อไปให้ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ
ส.อ.กรุง นาแถมทอง
Email>krung502-30-0003@hotmail.com

นราธิวาส กล่าวว่า...

ส่งครั้งที่ 1 วิชา บธ 3108 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์
นายสมศักดิ์ ญาณโชติ 501-00-2386
นายณรงค์ มั่นคง 501-00-2349
นส.ลิปิกุล การุโณ 502-00-0004
ระบบสารสนเทศของคุณซาราเป็นระบบที่ใช้ในการจัดการระบบข้อมูลของงานให้สะดวกแก่การเรียกใช้ภายหลังไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของลูกค้า การติดต่อลูกค้า เป็นต้น ล้วนแต่นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ทั้งนั้นปัจจุบันหลายองค์การได้พัฒนาและใช้งานระบบสารสนเทศในระดับที่แตกต่างกัน เช่น บางหน่วยงานอยู่ในช่วงเริ่มต้น ของ การนำเทค โนโลยี สารสนเทศมาประยุกต์ ขณะที่บางองค์การได้บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับทุกหน่วยงาน เป็นต้น แต่ไม่ ว่าระบบ สารสนเทศ จะมีความก้าวหน้าเพียงใดก็ไม่สามารถ รักษาความสมบูรณ์ ได้ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดยั้ง ของ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อม ทางธุรกิจ หรือลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ระบบ งาน ปัจจุบันขาดความสามารถ ในการตอบ สนองต่อปัญหา ที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะ ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นอาจส่งผลให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Casanovy' '我就是我' ' กล่าวว่า...

Quiz#1 กรณีศึกษา Sarah Morris
จากการวิเคราะห์การบริการจัดการสัมนาของ Sarah Morris ในการทำงานให้เป็นระบบจึงต้องมีเทคโนโลยีทางด้าน IT เข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กรการจัดการสัมนา สามารถแบ่งเป็น 6 ประเภท คือ
1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS) ระบบการ ประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ – จ่ายบิล ระบบนี้เป็นระบบ สารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลักษณะเด่นของระบบ TPS คือ การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ
- ลดจำนวนพนักงาน
- องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว
- ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผล ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถ ในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย
คุณสมบัติของระบบ MIS คือ
- ระบบ MIS สนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
- ระบบ MIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ใน องค์กร
- ระบบ MIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ ตามเวลา ที่ต้องการ
- ระบบ MIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงของ องค์กร
- ระบบ MIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่ เกี่ยวข้องเท่านั้น
3. ระบบช่วยตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) ระบบช่วยตัดสินใจ หมายถึง ระบบ ที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกว่า “ระบบสนับสนุนการตัดสินในเพื่อผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS) บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้อง พัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบ เทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสิน ใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัท การขยายโรงงานใหม่ คุณสมบัติของระบบ DSS คือ
- ระบบ DSS จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ
- ระบบ DSS จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มี โครงสร้างแน่นอนได้
- ระบบ DSS จะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหาร และวางแผนยุทธศาสตร์
- ระบบ DSS มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์และมี เครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
- ระบบ DSS ต้องเป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่ายผู้บริหารต้องสามารถใช้ งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
- ระบบ DSS ต้องสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
- ระบบ DSS ต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
- ระบบ DSS ต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้
- ระบบ DSS ต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
- ระบบ DSS มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ
4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) ระบบ สารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ กันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง คุณสมบัติของระบบ EIS
- มีการใช้งานบ่อย
- ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
- ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
- การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
- การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
- ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
- การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
- ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด
ข้อด้อยของระบบ EIS
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน
2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล
5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS) ระบบสำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อ สารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน OAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ ใช้กระดาษข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน ซึ่ง มีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ
1. รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อ ความ E – mail , FAX
2. รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing) การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video - Conferencing)
สำนักงานที่จัดว่าเป็นสำนักงานอัตโนมัติ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ
1. Networking System คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร
2. Electronic Data Interchange คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกน โดยอาศัยสัญญาณ ข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน
3. Internet Working (Internet) คือ การรวมตัวกันของระบบข่ายงาน ที่กระจายอยู่ทั่วโลกจน กลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
4. Paperless System คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษอาทิ Post Of Sale (POS) เป็นการขายแบบมี การบันทึกรายการขายและรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกับสินค้าทันทีที่มีการขาย ณ จุดขายนั้นๆ Electronic Funds Transfer (EFT) เป็นระบบการโอนเงินอัตโนมัติของธนาคารโลก
6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence / Expert System : AI/ES) ระบบผู้เชี่ยวชาญ หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งคล้ายกับมนุษย์ ระบบนี้ได้รับความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อ ให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ความรู้ที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์นี้ ประกอบด้วย ฐานความรู้ (Knowledge Bass) และกฎข้อวินิจฉัย (Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัยความผิด พลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้าโดยใช้คอมพิวเตอร์
และยังต้องนำซอฟแวร์เข้ามาช่วยได้แก่ ระบบ Call Center
1. ระบบ Call Center
- สามารถตอบสนองได้อย่างสมบูรณ์แบบและมี ประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการตอบข้อซักถาม ปัญหาต่าง ๆ รับคำสั่งตจองห้องสัมนาตาม โรงแรม
- สนับสนุนการให้บริการช่วยเหลือทางด้านเทคนิคการให้บริการข้อมูลข่าวสารที่ต้องการ ประชาสัมพันธ์ และสาระความรู้ต่างๆ ที่ลูกค้าควรทราบ รวมถึงการรับเรื่องร้องเรียนหรือ กิจกรรมต่างๆ หรือคำแนะนำ คำติชม ที่เกี่ยวกับธุรกิจอย่างครบวงจรและสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ คือ ความ ะดวกรวดเร็วในการรับบริการ
- ลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารที่ซับซ้อน และที่สำคัญที่สุด คือ ได้รับบริการที่ตอบสนอง ความต้องการและความพึงพอใจสูงสุด

สมาชิกกลุ่ม Quiz#1 กรณีศึกษา Sarah Morris
1. น.ส วรางคณา ศรีจันทรา รหัส 481-20-0123
2. น.ส นุสรา เซ็นติมา รหัส 481-20-0126
3. น.ส สุธาธิน แบบประเสริฐ รหัส 481-00-0330

Casanovy' '我就是我' ' กล่าวว่า...

สวัสดีค่ะ อาจารย์ประจำวิชา Ba3108 Quiz#1,2 งานอยู่ที่หน้า blog
http://www.casanovy.blogspot.com/
น่ะค่ะ
อาจารย์ตรวจแล้วขอข้อชี้แนะด้วยน่ะค่ะ
ขอบคุณค่ะ ^..^